อุทกภัยในรัฐควีนส์แลนด์ พ.ศ. 2553-2554
ผู้หญิงติดบนหลังคารถยนต์รอการช่วยเหลือในระหว่างน้ำท่วมเฉียบพลันที่ทูวูมบา (Toowoomba) | |
วันที่ | พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 – มกราคม พ.ศ. 2554 |
---|---|
ที่ตั้ง | รัฐควีนส์แลนด์ทางตอนกลางและใต้ส่วนใหญ่ รวมไปถึงบริสเบน, ร็อกแฮมตัน, จิมพี, เอเมอรัลด์, บันดาเบิร์ก, ดอลบี, ทูวูมบา, โรมา และอิปสวิช |
เสียชีวิต | 35 |
ทรัพย์สินเสียหาย | 2.39 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (2,389,225,876 ดอลลาร์สหรัฐ); ส่งผลกระทบ 200,000 คน[1] |
อุทกภัยในรัฐควีนส์แลนด์ ธันวาคม พ.ศ. 2553-มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นอุทกภัยที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย โดยส่วนใหญ่แล้วเกิดขึ้นในรัฐควีนส์แลนด์ อุทกภัยครั้งดังกล่าวส่งผลให้มีการอพยพประชาชนหลายพันคนออกจากเมืองและนครที่ได้รับผลกระทบ[2] และมีอย่างน้อย 22 เมือง และประชาชนมากกว่า 200,000 คนได้รับผลกระทบ[2] ความเสียหายเบื้องต้นประมาณไว้ที่ 1 พันล้านดอลล่าร์ออสเตรเลีย (650 ล้านปอนด์)[3] พื้นที่กว้างใหญ่ทางตอนใต้และตอนกลางของรัฐควีนส์แลนด์ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ถนนกว่า 300 สายถูกปิด รวมทั้งทางหลวงสายหลัก 9 สาย[4] เส้นทางรถไฟถ่านหินก็ได้ถูกปิดและบริเวณทำเหมืองหลายแห่งถูกน้ำท่วม ราคาของผักและผลไม้ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก[5] ด้านรัฐบาลรัฐและรัฐบาลกลางอนุมัติเงินช่วยเหลือครอบครัวละ 1 ล้านดอลล่าร์ออสเตรเลีย[6] ยอดผู้เสียชีวิตจากอุทกภัยอยู่ที่ 35 ศพ[7]
เบื้องหลัง
[แก้]อุทกภัยเป็นผลมาจากฝนตกหนักที่เกิดขึ้นจากพายุไซโคลนเขตร้อนทาชา ซึ่งประกอบกับร่องน้ำในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ลานีญาสูงสุด ลักษณะลมฟ้าอากาศลานิญา พ.ศ. 2553 ซึ่งนำสภาพอากาศชื้นกว่าปกติมายังออสเตรเลียตะวันออก เป็นปรากฏการณ์ที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ พ.ศ. 2516[8] เกิดอุทกภัยในพื้นที่ห่างไกลจากตัวเมืองไล่ตั้งแต่หลายส่วนของรัฐนับตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม วันที่ 24 ธันวาคม ร่องมรสุมพาดผ่านชายฝั่งจากทะเลคอรัล ทำให้เกิดฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้างนับจากอ่าวคาร์เพนแทเรียไปจนถึงโกลด์โคสต์ วันที่ 28 ธันวาคม ฝนที่ตกลงมาอย่างหนักนั้นเริ่มซาลง[9]
ขอบเขต
[แก้]เดิมอุทกภัยส่งผลกระทบให้ประชาชน 1,000 คนได้รับการอพยพออกจากเมืองธีโอดอร์และอีกหลายเมือง ฝ่ายทหารได้สนับสนุนโดยการเคลื่อนย้ายประชาชนทางเฮลิคอปเตอร์ไปยังศูนย์การอพยพในมัวรา การอพยพประชากรทั้งเมืองของธีโอดอร์ได้รับการอธิบายว่าไม่เคยปรากฏมาก่อนโดยรักษาการหัวหน้าเจ้าหน้าที่จัดการฉุกเฉินรัฐควีนส์แลนด์[10] บันดาเบิร์กประสบกับอุทกภัยรุนแรงหลังจากน้ำในแม่น้ำเบอร์เน็ตต์เอ่อล้นเข้าท่วมเมือง ชินชิลล่าและเจอริโกก็ประสบภัยพิบัติเช่นกัน[11]
การคมนาคมทางถนนของเอมเมอรัลถูกตัดขาดเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม หลังจากน้ำในแม่น้ำนากัวมีระดับสูงขึ้น[11] ในวันรุ่งขึ้น น้ำในแม่น้ำได้เกินความสูงที่เกิดขึ้นเมื่อครั้งอุทกภัยใน พ.ศ. 2551 ที่ความสูง 15.36 เมตร[12] พื้นที่กว่าร้อยละ 80 ของเมืองถูกน้ำท่วมในช่วงที่เกิดอุทกภัยหนักที่สุด นับเป็นภัยพิบัติที่เลวร้ายที่สุดที่เมืองเคยประสบมา[13]
ร็อกแฮมป์ตันมีเวลาเกือบหนึ่งสัปดาห์ในการเตรียมรับมือกับอุทกภัยหลังจากน้ำในแม่น้ำฟิตซรอยเพิ่มสูงขึ้น ท่อากาศยานถูกปิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม[14] และเมื่อถึงวันที่ 3 ธันวาคม การติดต่อทางอากาศ ถนน และทางรางกับส่วนอื่นของประเทศถูกตัดขาดอย่างสมบูรณ์[15] ผนังกั้นน้ำโลหะถูกตั้งขึ้นรอบอาคารที่พักผู้โดยสารเพื่อป้องกันไม่ให้ซากปรักหักพังที่เกิดจากอุทกภัยสร้างความเสียหายแก่สิ่งก่อสร้าง ศูนย์ผู้อพยพได้ถูกตั้งขึ้นที่มหาวิทยาลัยเซ็นทรัลควีนส์แลนด์[16] ท่าเรือแกลดสโตนลดปริมาณการส่งออกสินค้าลงเนื่องจากการขาดการขนส่งถ่านหินทางราง และเนื่องจากคลังสินค้าของท่าเรือชุ่มไปด้วยน้ำ[17] ชาวเมืองเอมเมอรัล 1,200 คน ได้ลงทะเบียนเป็นผู้อพยพ[16]
อุทกภัยในเดลบีเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่ พ.ศ. 2524[18] ระบบการทำน้ำให้สะอาดของเมืองถูกน้ำท่วม ซึ่งส่งผลให้มีการจำกัดน้ำที่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการทำน้ำให้สะอาดนี้ น้ำกว่า 112,500 ลิตรได้รับการขนส่งมายังเมืองที่มีประชากรกว่า 14,000 คน[19] แม่น้ำคอนดาไมน์เพิ่มระดับสูงขึ้นเป็น 14.25 เมตร เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม เป็นระดับที่สูงที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกมา และยังคงมีระดับสูงขึ้นเรื่อย ๆ[6] เมืองคอนดาไมด์มีการอพยพประชาชนในวันเดียวกัน[5]
ในรัฐควีนส์แลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ เขื่อนไวเว็นโฮมีปริมาณน้ำ 122% ของปริมาณเก็บกัก ส่งผลให้ต้องมีการระบายน้ำออกทั้งห้าประตู[20] บริสเบนได้รับผลกระทบจากอุทกภัยหนักที่สุดนับตั้งแต่ พ.ศ. 2402[17]
นายกรัฐมนตรี จูเลีย กิลลาร์ด ลงตรวจพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม[16]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Delana Carbone; Jenna Hanson (29 มกราคม 2013). "Floods: 10 of the deadliest in Australian history". Australian Geographic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 มกราคม 2013. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2013.
- ↑ 2.0 2.1 "Australia: Queensland floods spur more evacuation". BBC News. 31 December 2010. สืบค้นเมื่อ 1 January 2011.
- ↑ "Floods force mass evacuations in Queensland, Australia". BBC News. 29 December 2010. สืบค้นเมื่อ 30 December 2010.
- ↑ "Hundreds of roads closed in flooded Qld". Sydney Morning Herald. Fairfax Media. 28 December 2010. สืบค้นเมื่อ 30 December 2010.
- ↑ 5.0 5.1 "Some Queensland flood victims facing long wait to return to their flooded homes". The Australian. News Limited. 30 December 2010. สืบค้นเมื่อ 30 December 2010.
- ↑ 6.0 6.1 "Disease fears grow as flooding hits towns' water supplies and rivers rise in Queensland". The Courier-Mail. Queensland Newspapers. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-02. สืบค้นเมื่อ 30 December 2010.
- ↑ Creighton, Drew (2016-01-13). "Queensland floods 2011: The floods by the numbers". Brisbane Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-09-07.
- ↑ "La Nina to break down later this year". ABC News Online. Australian Broadcasting Corporation. 1 January 2011. สืบค้นเมื่อ 1 January 2011.
- ↑ "Bureau believes worst is over". Warwick Daily News. APN News & Media. 28 December 2010. สืบค้นเมื่อ 30 December 2010.
- ↑ Marissa Calligeros (29 December 2010). "Flooding could last 'weeks, not days'". Brisbane Times. Fairfax Media. สืบค้นเมื่อ 30 December 2010.
- ↑ 11.0 11.1 Marissa Calligeros (30 December 2010). "From drought to flooding rains: Queensland's flood crisis continues". Brisbane Times. Fairfax Media. สืบค้นเมื่อ 30 December 2010.
- ↑ "Qld's 'heartbreaking' floods worst ever". Sydney Morning Herald. Fairfax Media. 30 December 2010. สืบค้นเมื่อ 30 December 2010.
- ↑ Vikki Campion (1 January 2011). "Flooded towns in Queensland declared disaster zones". The Daily Telegraph. Herald and Weekly Times. สืบค้นเมื่อ 1 January 2011.
- ↑ "Rockhampton Airport shuts down". The Morning Bulletin. APN News & Media. 3 January 2011. สืบค้นเมื่อ 3 January 2011.
- ↑ "Floods completely cut off Rockhampton". The Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ 3 January 2011.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 "Rockhampton faces forced evacuations". ABC News Online. Australian Broadcasting Corporation. 31 December 2010. สืบค้นเมื่อ 3 January 2011.
- ↑ 17.0 17.1 David Fickling & Ray Brindal (30 December 2010). "Rains Hit Australian Coal Mines". Wall Street Journal. Dow Jones & Company. สืบค้นเมื่อ 30 December 2010.
- ↑ Courtney Trenwith (30 December 2010). "Heartbreak beneath the flood slick". Brisbane Times. Fairfax Media. สืบค้นเมื่อ 30 December 2010.
- ↑ "Drinking water trucked into flood-ravaged Dalby". Herald Sun. Herald and Weekly Times. 30 December 2010. สืบค้นเมื่อ 1 January 2011.
- ↑ Andrew Korner (30 December 2010). "Five gates open at Wivenhoe Dam". The Queensland Times. APN News & Media. สืบค้นเมื่อ 30 December 2010.